ข้อมูลพื้นฐาน รร

ทิศทางและกลยุทธ์การพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนบ้านไผ่โทน

วิสัยทัศน์โรงเรียนบ้านไผ่โทน

“ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล พัฒนาความรู้ควบคู่คุณธรรม ร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สู่ชุมชนบนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”


ปรัชญา

"ศึกษาดี มีวินัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม"


พันธกิจ

โรงเรียนบ้านไผ่โทน เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย  เขต  1  ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  2542  และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.  2545พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ  พ.ศ. 2546ได้กำหนดภารกิจหลักของสถานศึกษาไว้ดังนี้

       1.  ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรวัยเรียนทุกคน ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ

       2.  จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อพัฒนา ตนเองได้เต็มศักยภาพ

       3.  จัดโครงการเฝ้าระวังส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน

      4.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ตามหลักสูตร

      5.  จัดกิจกรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน

       6.  พัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถเต็มศักยภาพ  จนสามารถส่งเสริมการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่าง มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานตามที่กำหนด

       7.  ส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม และอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย เอกลักษณ์ไทยและค่านิยมไทย 12   ประการบวก 1 (รักเลยจริงต้องไม่ทิ้งขยะ )

       8.  ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง  ชุมชน  และท้องถิ่น  ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา คุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

       9. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วม  เพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษา

เป้าประสงค์

1. ประชากรวัยเรียนทุกคน และบุคลากรทางการศึกษามีทักษะที่เหมาะสม และมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

      2.  นักเรียนในโรงเรียนมีทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์และการเขียน อยู่ในเกณฑ์ ดี ถึง ดีเยี่ยม 

 ร้อยละ  100

      3.  นักเรียนมีทักษะการอ่าน  ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานในการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน ร้อยละ 100

      4.  นักเรียนมีทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยี  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา  ค้นคว้าและสรุปเป็นองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง  อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ

      5.  นักเรียนร้อยละ  100  ผ่านเกณฑ์คุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดี ถึง ดีเยี่ยม

      6.  นักเรียนร้อยละ  100   มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย  ร้อยละ  75.00

      7.  นักเรียนร้อยละ  100  มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

กลยุทธ์ของโรงเรียน 

1.  พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตร และส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือแห่งการเรียนรู้สู่มาตรฐานสากล

2.  ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความรับผิดขอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และห่างไกลยาเสพติด

3.  ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียนให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และลดความเสี่ยงจากการออกกลางคันโดยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง

4.  พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

5.  พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษา หลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและความร่วมมือกับองค์กรส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา

6.  พัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา   : โรงเรียนยิ้มง่ายไหว้สวย

 มาตรฐานการศึกษาโรงเรียนบ้านไผ่โทน

           โรงเรียนบ้านไผ่โทนได้กำหนดมาตรฐานการศึกษาโดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อ

การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา  ดังนี้

ระดับปฐมวัย

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

       ตัวบ่งชี้ที่ 1 เด็กมีการเจริญเติบโตสมวัย

       ตัวบ่งชี้ที่ 2 เด็กมีพัฒนาการสมวัย

       ตัวบ่งชี้ที่ 3 เด็กมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว

       ตัวบ่งชี้ที่ 4 เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ

       ตัวบ่งชี้ที่ 5 เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา เรียนรู้และสร้างสรรค์

       ตัวบ่งชี้ที่ 6 เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร

       ตัวบ่งชี้ที่ 7 เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม คุณธรรมตัวบ่งชี้ที่ 1 มีวินัย และความเป็นพลเมืองดี

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

       ตัวบ่งชี้ที่ 1 การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

  ตัวบ่งชี้ที่ 2 การบริหารจัดการบุคลากรทุกประเภทตามหน่วยงานที่สังกัด

  ตัวบ่งชี้ที่ 3 การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย

  ตัวบ่งชี้ที่ 4 การจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้

  ตัวบ่งชี้ที่ 5 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

       ตัวบ่งชี้ที่ 1 การดูแลและพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน

  ตัวบ่งชี้ที่ 2 การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและดูแลสุขภาพ

  ตัวบ่งชี้ที่ 3 การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ภาษาและการสื่อสาร

  ตัวบ่งชี้ที่ 4 การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม ปลูกฝังคุณธรรมและความเป็นพลเมืองดี

  ตัวบ่งชี้ที่ 5 การส่งเสริมเด็กในระยะเปลี่ยนผ่านให้ปรับตัวสู่การเชื่อมต่อในชั้นถัดไป


ระดับประถมศึกษา

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน

       ตัวบ่งชี้ที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

1) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ

2) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน

3) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

4) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

6) มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

  ตัวบ่งชี้ที่ 2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

1) การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

2) ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

3) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

4) สุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ 1  มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

ตัวบ่งชี้ที่ 2  มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3  ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย

ตัวบ่งชี้ที่ 4  พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

ตัวบ่งชี้ที่ 5  จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

ตัวบ่งชี้ที่ 6  จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและจัดการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ตัวบ่งชี้ที่ 1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

ตัวบ่งชี้ที่ 2  ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 3  มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก

ตัวบ่งชี้ที่ 4  ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

ตัวบ่งชี้ที่ 5  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้